เก็บสินค้าเป็น Lots | Drive-In Rack ตอบโจทย์จริงไหม?
บทความ 1.45 นาที
เก็บสินค้าเป็น Lots | Drive-In Rack ตอบโจทย์จริงไหม?
เกริ่นมาพอสมควรจากหลายๆบทความก่อนหน้านี้แล้ว เราได้พูดถึงชั้นวางสินค้าประเภทนี้ไปบ้าง ถ้าไม่มีบทความเฉพาะของชั้นวางประเภทนี้เลยก็คงจะกระไรอยู่
บทความนี้จะพูดถึงลักษณะและกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มในการใช้ชั้นวางสินค้าประเภท Drive-In Racking Systems
ก่อนอื่นเลยลักษณะการจัดวางสินค้าใน Drive-In Racking Systems ควรเป็นระบบแบบ “เข้าก่อนออกทีหลัง” หรือที่เราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า
“LIFO (Last In, Fist Out)” (อ่านต่อ) และอีกปัจจัยนึงที่สำคัญไม่แพ้กันคือ “การจัดเก็บควรเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน (SKU) ใน 1 ช่องจัดเก็บ (Row)” เนื่องจากชั้นวางสินค้าแบบ Drive-In Rack นั้น มีขั้นตอนการจัดเก็บที่ต้องทำตามลำดับ จะแตกต่างจากชั้นวางสินค้าประเภท
“Selective Racking Systems” (อ่านต่อ) ที่สามารถเข้าถึงสินค้า (Pallet) ในแต่ละ Location ได้อย่างอิสระมากกว่า
ลำดับการจัดเรียงสินค้าเข้า-ออกของ Drive-In Racking Systems
อ่านดูแล้วหลายคนคงเกิดคำถามว่า “แล้ว Drive-In Racking Systems จะตอบโจทย์ยังไง?”
การเปรียบเทียบว่าชั้นวางสินค้าแบบไหนดีกว่าแบบไหนอาจจะไม่ถูกต้องมากนัก หากแต่มองถึงจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก และมองหาชั้นวางสินค้าที่ตอบโจทย์ต่ออุตสาหกรรมของคุณจะดีกว่า
การลงทุน (Investment):
เมื่อเปรียบเทียบกับชั้นวางสินค้าประเภท High Density Storage อื่นๆ เช่น Pallet Flow Racking Systems, Mobile Racking Systems, Shuttle Racking Systems (ดูเพิ่มเติม) จะเห็นได้ว่า Drive-In Racking Systems มีต้นทุนที่น้อยกว่า เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีการจัดเก็บเข้ามาใช้งานร่วม
การเข้าถึงสินค้า (Accessible):
Drive-In Racking Systems อาจจะไม่ตอบโจทย์ในหลายๆอุตสาหกรรม เมื่อเปรียบเทียบกับชั้นวางอย่าง Selective Rack
จำนวนจัดเก็บ (Capacity):
ในทางกลับกันหากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการการจัดเก็บที่สูง Drive-In Racking Systems สามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า Selective Rack กว่าเท่าตัว หรือสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ในคลังสินค้าได้ครอบคลุมถึง 60%
ด้วยเหตุผลหลากหลายนี้ทำให้ Drive-In Racking Systems นั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะและกิจกรรมในคลังสินค้า ที่จัดเก็บและนำสินค้าออกเป็นจำนวนมาก (Lots) เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น