Shuttle Racking Systems | บริหารงบลงทุนคลังสินค้าเป็น Phase by Phase
บทความ 2 นาที
"Shuttle Racking Systems | บริหารงบลงทุนคลังสินค้าเป็น Phase by Phase"
หลายๆคนที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บแบบ Shuttle Racking Systems คงพอทราบถึงข้อดีและข้อจำกัดของระบบจัดเก็บแบบนี้พอสมควรแล้ว สำหรับคนที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่นี่
บทความนี้จะมาพูดถึงอีกหนึ่งข้อดีของระบบจัดเก็บนี้ !
นอกเหนือจากลักษณะการทำงานของระบบจัดเก็บ Shuttle Racking Systems ที่เพิ่มปริมาณการจัดเก็บแนวลึกและประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าไม่ว่าจะเป็นแบบระบบ LIFO หรือ FIFO แล้ว อีกหนึ่งข้อดีของระบบจัดเก็บแบบ Shuttle Racking Systems คือ “การบริหารงบลงทุนของชั้นวางจัดเก็บแบบ Phase by Phase”
ด้วย Shuttle Racking Systems มี Functions การทำงานที่แยกกัน:
1. Shuttle Rack คือ โครงสร้างชั้นวางเพื่อจัดเก็บสินค้า | ในกรณีต้องการจัดเก็บสินค้ามาก ส่งผลถึงโครงสร้าง Shuttle Rack ที่มากขึ้น
* ปัจจัยสำคัญของการขยายโครงสร้าง Shuttle Rack คือ “ปริมาณจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า”
การวางแผนเพื่อขยายพื้นที่จัดเก็บในอนาคต ในกรณีพื้นที่การจัดเก็บสินค้าปัจจุบันไม่สามารถรองรับปริมาณจัดเก็บที่จะเพิ่มขึ้นได้นั้น สามารถเพิ่มโครงสร้าง Shuttle Rack ต่อเติมจากเดิมได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มจำนวน Shuttle Carts หากความเร็วของการจัดเก็บและนำออกต่อชั่วโมง (Throughputs/Hour) ของคลังสินค้าไม่ได้เพิ่มตาม
2. Shuttle Carts คือ ระบบลำเลียงสินค้าเพื่อจัดเก็บและนำออก (Throughputs) | ในกรณีที่มีการเข้าออกของสินค้าในคลังสูง ส่งผลถึง Shuttle Carts ที่มากขึ้น
* ปัจจัยสำคัญของการกำหนดจำนวน Shuttle Carts คือ “ความเร็วของการจัดเก็บและนำออกต่อชั่วโมง (Throughputs/Hour)”
ในกรณีคลังสินค้าปัจจุบันไม่ได้มี Throughputs/Hour ที่สูงมากนัก สามารถใช้ Shuttle Carts จำนวนน้อยได้ หากในอนาคตมีแผนขยายธุรกิจโดยคาดว่ามีสินค้าเข้าออกต่อวันสูงขึ้น (Throughputs/Day) สามารถเพิ่มจำนวน Shuttle Carts เพื่อช่วยในการบริหารการทำงานในคลังสินค้า (Operation Flow) โดยยังคงสามารถใช้โครงสร้าง Shuttle Rack เดิมได้
และนี่คืออีกหนึ่งข้อดีของการเลือกใช้ระบบจัดเก็บแบบ Shuttle Racking Systems ที่จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนงบประมาณการลงทุนสำหรับคลังสินค้า